วันจันทร์ที่ 25 กันยายน 2566 เวลา 08.30 น. นายอับดุลวาริส บิลังโหลด นายกเทศมนตรีฯ มอบหมายนายสมใจ พรหมยานนท์ ปลัดเทศบาลฯ เข้าร่วมรับชมการตรวจเยี่ยมหน่วยงานและมอบนโยบายของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยได้มอบนโยบายสำคัญ 10 ข้อ น้ำไหล ไฟสว่าง ทางสะดวก หนุนเสริมคาร์บอนเครดิต-พัฒนาระบบสาธารณสุขปฐมภูมิ ยกระดับ รพ.สต. "ยาดี หมอเก่ง" พร้อมเตรียมการรองรับสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่และมีคุณภาพ เพื่อประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข พึ่งพาตนเองได้มากที่สุด ย้ำ "ไม่ประนีประนอมกับคนที่ทำผิดกฎหมาย-ฉ้อราษฎร์บังหลวง ข่มเหงรังแกพี่น้องประชาชน คนที่อยู่นอกกฎหมายจะเอาชนะคนที่ถือกฎหมายไม่ได้" ทาง facebook fanpage : ท้องถิ่นไทย 1.การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างรายได้ โดยน้อมนำแนวพระราชดำริมาประยุกต์ใช้ โดยส่งเสริมให้ อปท. น้อมนาเอาแนวพระราชดำริไปประยุกต์ใช้ เพื่อให้ประชาชนมีความอุดมสมบูรณ์พูนสุขในทุกมิติของชีวิต โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง 2.น้ำดื่มสะอาดฟรี ลดค่าใช้จ่ายให้ประชาชน เป็นหนึ่งในนโยบายเร่งด่วนของกระทรวงมหาดไทย ที่ต้องการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่มีค่าครองชีพสูงขึ้นจากการซื้อน้าดื่ม โดยขอให้ สถ. ขยายผลให้ครัวเรือนเข้าถึงน้ำสะอาด ผ่านการก่อสร้างปรับปรุงพัฒนาแหล่งน้ำดิบเพื่อการผลิตน้ำอุปโภคบริโภค การพัฒนาระบบผลิตน้ำประปา และธนาคารน้ำใต้ดิน โดยให้ครอบคลุมพื้นที่ที่การประปาส่วนภูมิภาคให้บริการไม่ถึง รวมถึงการพัฒนามาตรฐานคุณภาพน้ำประปาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และมีการสำรวจตรวจสอบคุณภาพอยู่เสมอ 3.การลดค่าใช้จ่ายพลังงานไฟฟ้าและน้ำมันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยขอให้ส่งเสริมการติดตั้ง Solar Cell Cell และ Solar Rooftop Rooftop ในสถานที่ราชการ และใช้กับไฟฟ้าส่องสว่างสาธารณะ เพื่อลดค่าใช้จ่ายของ อปท. ในระยะยาว พร้อมจัดทำแผนปฏิบัติการด้านความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality Road Map) เพื่อเป็นแผนในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มุ่งสู่การขับเคลื่อนนโยบาย Carbon Neutrality ในปี ค.ศ. 2050 ตลอดจนลดค่าใช้จ่ายน้ำมันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยพิจารณาจัดหารถพลังงานสะอาด อาทิ รถพลังงานไฟฟ้า (EV) มาใช้งาน ทั้งนี้ ขอให้ สถ. พิจารณานำร่องดำเนินการใน อปท. ที่มีความพร้อม และทำให้เป็นต้นแบบเพื่อนำสู่การขยายผลต่อไป 4.พลังงานสะอาด ส่งเสริมให้ครัวเรือนและชุมชน สร้างรายได้ จากพลังงานสะอาด โดยการจัดตั้งธนาคารคาร์บอนเครดิตในพื้นที่ทุกจังหวัด ผ่านการปลูกไม้ยืนต้น การจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน เพื่อจำหน่ายคาร์บอนเครดิตอย่างยุติธรรม และได้มาตรฐานในระดับสากล 5.จัดระเบียบสังคม ปราบปรามผู้มีอิทธิพล โดยขอให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ตรวจสอบติดตามผู้มีอิทธิพลที่เป็นกลุ่มผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น ที่มีพฤติกรรมฝ่าฝืนความสงบเรียบร้อย หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการเสนอราคา มีการเรียกรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นจากการอนุญาตในเรื่องที่ตนมีอานาจในทางมิชอบ เพื่อให้สังคมเกิดความสงบสุข 6.บริการประชาชนแบบ One Stop Service มุ่งเน้นการส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการให้บริการประชาชนผ่าน e-Service ยกระดับแพลตฟอร์มที่ใช้งานอยู่ให้มีประสิทธิภาพ สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลายในแพลตฟอร์มเดียว รวมถึงส่งเสริมให้ประชาชนสามารถมีส่วนร่วม ในการบริหารงานท้องถิ่นผ่านทางช่องทางออนไลน์ 7.อำนวยความสะดวกและดูแลความปลอดภัยนักท่องเที่ยว หลักการดูแลนักท่องเที่ยวที่สำคัญ คือการสร้าง “ความปลอดภัย ความสะดวก และแรงดึงดูด” จึงขอให้ อปท. วางแผนการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว พัฒนาระบบการดูแลความปลอดภัย สาธารณูปโภค และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ สำหรับรองรับนักท่องเที่ยว ใช้ประโยชน์จากสื่อออนไลน์ในการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่าง ๆ 8.ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก การผลิต การตลาด และการจำหน่าย โดยส่งเสริมให้ อปท. สนับสนุนการจัดกิจกรรมตลาดนัดชุมชน เพื่อเปิดโอกาสให้คนในชุมชนสามารถนำสินค้ามาจำหน่าย และแสวงหาช่องทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และเพิ่มโอกาสการจัดจำหน่ายด้วย 9.แก้ไขปัญหายาเสพติด ขอให้ส่งเสริมและสนับสนุนกระบวนการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพทางสังคมของศูนย์คัดกรอง และศูนย์ฟื้นฟูสภาพ ทางสังคมในส่วนของ อปท. และพิจารณาให้ความช่วยเหลือและสงเคราะห์แก่ “ผู้ป่วย” ที่ได้รับการฟื้นฟูสภาพทางสังคมตามอำนาจหน้าที่ 10.สนับสนุนการพัฒนาระบบสาธารณสุขปฐมภูมิ และการเตรียมความพร้อมท้องถิ่น รองรับสังคมผู้สูงอายุ เพิ่มประสิทธิภาพระบบสาธารณสุขขั้นปฐมภูมิ และการสร้างเสริมสุขภาพเชิงป้องกัน โดยสนับสนุนการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย พร้อมยกระดับบริการต่อไป โดยต้องให้ความสำคัญกับบุคลากรทางด้านสาธารณสุข เรื่องความก้าวหน้า ค่าตอบแทน และงบประมาณในการดูแลปฐมภูมิ นอกจากนี้ สำหรับประเด็นสังคมผู้สูงวัยนั้น ขอให้ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีการบูรณาการการทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ให้มีสถานชีวาภิบาลประจำท้องถิ่น เพื่อบริบาลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีจนวาระสุดท้าย พร้อมทั้งเตรียมความพร้อมรองรับสังคมสูงวัยอย่างครอบคลุมในทุกมิติ ซึ่งรวมถึงการสร้างความเข้าใจกับประชาชน ทุกเพศทุกวัยในครอบครัว เกี่ยวกับความต้องการเฉพาะของผู้สูงวัย ทั้งทางร่างกายและจิตใจด้วย "ขอให้ทุกท่านนำผลประโยชน์ของประชาชนเป็นตัวตั้งในการปฏิบัติราชการ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความแจ่มใสและโปร่งใส ผมและผู้บริหารทุกคนในกระทรวงมหาดไทย พร้อมสนับสนุนภารกิจทุกประการ" มท.1 กล่าวในช่วงท้าย นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทย เป็นกระทรวงที่มีภารกิจที่เกี่ยวข้องกับประชาชน ดังคำกล่าว "บำบัดทุกข์ บำรุงสุข" ซึ่งทุกหน่วยงาน ทุกจังหวัด ที่จะขับเคลื่อนต้องอาศัยองคาพยพ เพราะเรามีบุคลากรและภาคีเครือข่ายลงไปถึงระดับหมู่บ้าน/ชุมชน "มี อปท. ทั้ง 7,849 แห่ง และ กทม. เป็น "ผู้แทนประชาชน"" ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่ใกล้ชิดประชาชน หาก อปท. สามารถขับเคลื่อนอย่างเต็มรูปแบบ ประชาชนจะมีความสุข ซึ่งทุกวันนี้ระบบบริการต่าง ๆ และอำนาจต่าง ๆ ได้ถูกกระจายถ่ายโอนไปยัง อปท. ทั้งนี้ อปท. จะมีความแตกต่างการบริหารจัดการตามบริบทพื้นที่ ดังนั้น สถ. ต้องกำกับดูแลเท่าที่จำเป็นตามกฎหมาย ลดการกำหนดกฎเกณฑ์ เน้นการ "ส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น" และส่งเสริมให้ อปท. นำขยะไปแปรรูปเพื่อมีรายได้กลับคืนสู่ท้องถิ่น เพื่อให้ อปท. บริหารกิจการพื้นที่เพื่อประชาชนให้มากที่สุด |